ชฎาภร ทุ่งเย็น

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
โคงสร้างของทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
            ด้วยหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทำให้ทัศนธาตุมาประกอบกันด้วยส่วนต่างๆ ของศิลปะที่ทำให้เป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ
            ดังได้กล่าวถึงความหมายของศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์ส้รางขึ้นเพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด หรือความงาม จะเห็นได้ว่าศิลปะนั้นมีองค์ประกอบอยู่ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางวัตถุที่มองเห็นได้ กับส่วนที่เป็นการแสดงออกที่เกิดจากโครงสร้างทางวัตถุนั้นเราเรียกองค์ประกอบส่วนแรกว่า รูปทรง (Form) หรือ องค์ประกอบทางรูปธรรม และเรียกส่วนหลังว่า เนื้อหา (Content) หรือ องค์ประกอบทางนามธรรม ดังนั้น องค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างหลักของศิลปะ ก็คือ รูปทรงและเนื้อหา
            ๑.รูปทรง (Form)
          รุปทรง เป็นส่วนที่ศิลปินสร้างขึ้นด้วยการประสานสัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพของทัศนธาตุ(Visual Elements) ซึ่งได้แก่ จุด เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง น้ำหนักอ่อนแก่ ลักษณะผิว ช่องว่าง ถ้าจะเปรียบกับชีวิต รูปทงคือส่วนที่เป็นกาย เนื้อหาคือส่วนที่เป็นใจ รูปทรงกับเนื้อหาจึงไม่อาจแยกจากกันได้ ในงานศิลปะที่มีคุณค่าทางความงามทั้งสองส่วนนี้จะร่วมเป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าแยกกันความเป้นเอกภาพก็จะถุกทำลาย ผลงานของศิลปะก็ไม่อาจอุบัติขึ้นได้
            รูปทรง มีองค์ประกอบสำคัญ ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางรูปและส่วนที่เป็นโครงสร้างทางวัตถุ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางรูปได้แก่ ทัศนธาตุ ที่รวามตัวกันอยู่อย่างมีเอกภาพ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางวัตถุ ได้แก่ วัสดุที่ใช้ในการสร้างรูป ได้แก่ สี ดินเหนียว ไม้ กระดาษ ผ้า โลหะ
            องค์ประกอบที่เป็นดครงสร้างของรูปทรงดังกล่าวที่ประสานกันอย่างมีเอกภาพของทัศนธาตุนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะถือว่าเป็นกายของงานศิลปะ ถ้าศิลปินสร้างรูปทรงให้มีเอกภาพที่สมบูรณ์ไม่ได้ รูปทรงนั้นก็ขาดชีวิต ขาดเนื้อหา ไม่สามารถจะแปลหรือสื่อความหมายใดๆได้
๒. เนื้อหา (Content)
                เนื้อหา คือ องค์ประกอบหรือโครงสร้างทางนามธรรม ตรงกันข้ามกับส่วนที่เป็นรูปทรง ส่วนที่เป็นนามธรรมนี้ นอกจากเนื้อหาแล้ว ยังมี เรื่อง (Subject) และ แนวเรื่อง (Theme) รวมอยู่ด้วย ทั้งเนื้อหา เรื่องและแนวเรื่อง ต่างก็มีความเชื่อมโยงและทับซ้อนกันอยู่ เรื่องกับเนื้อหาในงานศิลปะบางประเภทแทบจะแยกจากกันไม่ได้ แต่ในงานศิลปะบางประเภทเกือบไม่เกี่ยวข้องกันเลย แนวเรื่องคือแนวทางของเรื่อง เป็นต้นทางที่จะนำไปสู่เนื้อหา ซึ่งเป็นผลขั้นสุดท้าย
                เรื่อง หมายถึง สิ่งที่ศิลปินนำมาสร้างงานศิลปะแบบรูปธรรม (Realistic) เช่น ภาพคน สัตว์ ทิวทัศน์ สิ่งของ ศาสนา สงคราม เป็นต้น แต่ศิลปะบางประเภทไม่แสดงเรื่องราว เราเรียกศิลปะประเภทนี้ว่า นอนออบเจคตีฟอาร์ต (Nonobjective Art) ส่วนใหญ่ได้แก่ ศิลปะนามธรรม (Abstract Art)
                แนวเรื่อง  เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางนามธรรมของงานศิลปะที่เน้นแนวความคิด (Concept) ความรู้สึกหรือความหมายที่ศิลปินต้องการแสดงออก เช่น ความงาม ความรัก ความศรัทธา
ความเมตตา ความโหดเหี้ยม การต่อสู้ เป็นต้น
                หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
                หลักองค์ประกอบศิลป์ ได้แก่ การนำส่วนประกอบของศิลปะมาจัดให้ประสานสัมพันธ์เป็นภาพขึ้นใหม่ เช่น หลักการจัดภาพให้เกิดคุณค่าทางความงาม ซึ่งมีหลักการดังนี้
๑.      เอกภาพ
๒.     ดุลยภาพหรือความสมดุล
๓.      จุดสนใจหรือจุดเด่น
๔.      ความกลมกลืน
๕.      ความขัดแย้ง
๖.       จังหวะ
๗.      สัดส่วน
                ๑.     เอกภาพ
เอกภาพ หมายถึง ลักษณะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แตกแยกกระจัดกระจาย มีความประสานสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนขององค์ประกอบศิลปะ และสื่อความหมายได้รวดเร็วและชัดเจน
วิธีสร้างเอกภาพ  มีวิธีสร้างได้หลายวิธีดังนี้
๑. ความสัมพันธ์กันของภาพ ๒ มิติ คือ การนำรูปร่างมาสัมผัสกันในลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดองค์ประกอบขึ้นใหม่     
๒.   ความสัมพันธ์กันของภาพ ๓ มิติ
อาศัยหลักการเดียวกันกับงาน ๒ มิติ คือ การจัดกลุ่มของวัตถุในพื้นที่ว่างนั่นเอง

๒.ดุลยภาพหรือความสมดุล
ดุลยภาพ  หมยถึง การถ่วงดุลกัน ทั้งสองข้างเท่ากัน
โดยการนำส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ เช่น ตุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และลักษณะผิวจัดเข้าด้วยกัน

๓.จุดสนใจหรือจุดเด่น
จุดสนใจหรือจุดเด่น หมายถึง ส่วนสำคัญที่เด่นชัดที่สุดของงานศิลปะทุกประเภท จุดสนใจมีลักษณะชัดเจน สะดุดตา มีพลังดึงดูดความสนใจ

๔.ความกลมกลืน
ความกลมกลืน หมายถึง การเข้ากันได้ดีขององค์ประกอบศิลป์โดยการนำเอาเส้น รูปร่าง-รูปทรง ขนาด สัดส่วน ค่าของน้ำหนัก ลักษณะผิว จังหวะ และสี

๕.ความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกัน เข้ากันไม่ได้ ไม่ประสานสัมพันธ์กันของทัศนธาตุ ทำให้ขาดความกลมกลืน

๖.จังหวะ
จังหวะ หมายถึง การจัดวาง อาจเรียกว่าการจัดบริเวณว่างก็ได้ อันได้แก่ การเว้นระยะ บนนยากาศ รูปและพื้น จังหวะของสี

๗.สัดส่วน
สัดส่วน หมายถึง ขนาดที่พอเหมาะกัน เช่น สัดส่วนของภาพ สัดส่วนของผู้หญิง ผู้ใหญ่ เด็ก สัดส่วนของเครื่องใช้ภายในบ้าน สัดส่วนของสี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น