ชฎาภร ทุ่งเย็น

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

การซ้ำ
   การซ้ำที่พบในธรรมชาติเป็นความน่าทึ่ง ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กลมกลืน อันเป็นส่วนหนึ่งของความงาม

ความกลมกลืน
   เราสามารถค้นพบความกลมกลืนในธรรมชาติโดยทั่วไปเช่น ความกลมกลืนของสี ความกลมกลืนของขนาด ความกลมกลืนของแสงและเงา

ความขัดแย้ง
   ถ้าเราเห็นความกลมกลืนอย่างซ้ำซาก หรือเห็นบ่อยๆ ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายได้เหมือนกัน ดังนั้น ก็ต้องมีความขัดแย้งบ้าง จะช่วยให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ ดังนั้น งานศิลปะที่ดีควรมีความขัดแย้งอยู่ด้วยเส้นเล็กน้อย เพื่อสร้างความสนใจ

หลักของการสร้างสรรค์ มีสาระที่สำคัญ ๒ ประการคือ
   ๑. เอกภาพของงาน
   ๒. การแสดงออก

๑. เอกภาพของงาน
   เอกภาพของงานเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของการสร้าสรรค์ เพราเป็นการสร้างรูปทรงที่เป็นทัศนธาตุ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของศิลปะโดยตรง
   เอกถาพของรูปความคิด
   ดังที่ทราบแล้วว่า ศิลปะนั้นประกอบด้วยส่วนสำคํญ ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นแนวเรื่องหรือเนื้อหา กับส่วนที่เป็นรูปทรง รูปทรงในงานศิลปะจะเกิดขึ้นได้ ผู้สร้างสรรค์จะต้องมีรูปความคิด

   เอกภาพของรูปทรง
   รูปทรงที่มีเอกภาพย่อมมาจากการประสานสัมพันธ์กันของทัศนธาตุที่มีความสอดคล้องกับความคิด อารมณ์และจินตนาการ นักเรียนอาจใช้ทัศนธาตุต่างๆ มาประกอบกันให้มีความประสานกลมกลืนหรือให้เกิดความขัดแย้งอย่างอิสระ

   ๒. การแสดงออก
   การแสดงออก คือ สาระสำคัญของความเป็นศิลปะ ตามความหมายของศิลปะที่ว่า "ศิลปะ" คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งความคิด อารมณ์ ความรู้สึกหรือความงาม
 
   การประกอบกันของรูปร่างต่างชนิด

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์

ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
โคงสร้างของทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
            ด้วยหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทำให้ทัศนธาตุมาประกอบกันด้วยส่วนต่างๆ ของศิลปะที่ทำให้เป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ
            ดังได้กล่าวถึงความหมายของศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์ส้รางขึ้นเพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด หรือความงาม จะเห็นได้ว่าศิลปะนั้นมีองค์ประกอบอยู่ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางวัตถุที่มองเห็นได้ กับส่วนที่เป็นการแสดงออกที่เกิดจากโครงสร้างทางวัตถุนั้นเราเรียกองค์ประกอบส่วนแรกว่า รูปทรง (Form) หรือ องค์ประกอบทางรูปธรรม และเรียกส่วนหลังว่า เนื้อหา (Content) หรือ องค์ประกอบทางนามธรรม ดังนั้น องค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างหลักของศิลปะ ก็คือ รูปทรงและเนื้อหา
            ๑.รูปทรง (Form)
          รุปทรง เป็นส่วนที่ศิลปินสร้างขึ้นด้วยการประสานสัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพของทัศนธาตุ(Visual Elements) ซึ่งได้แก่ จุด เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง น้ำหนักอ่อนแก่ ลักษณะผิว ช่องว่าง ถ้าจะเปรียบกับชีวิต รูปทงคือส่วนที่เป็นกาย เนื้อหาคือส่วนที่เป็นใจ รูปทรงกับเนื้อหาจึงไม่อาจแยกจากกันได้ ในงานศิลปะที่มีคุณค่าทางความงามทั้งสองส่วนนี้จะร่วมเป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าแยกกันความเป้นเอกภาพก็จะถุกทำลาย ผลงานของศิลปะก็ไม่อาจอุบัติขึ้นได้
            รูปทรง มีองค์ประกอบสำคัญ ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางรูปและส่วนที่เป็นโครงสร้างทางวัตถุ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางรูปได้แก่ ทัศนธาตุ ที่รวามตัวกันอยู่อย่างมีเอกภาพ ส่วนที่เป็นโครงสร้างทางวัตถุ ได้แก่ วัสดุที่ใช้ในการสร้างรูป ได้แก่ สี ดินเหนียว ไม้ กระดาษ ผ้า โลหะ
            องค์ประกอบที่เป็นดครงสร้างของรูปทรงดังกล่าวที่ประสานกันอย่างมีเอกภาพของทัศนธาตุนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะถือว่าเป็นกายของงานศิลปะ ถ้าศิลปินสร้างรูปทรงให้มีเอกภาพที่สมบูรณ์ไม่ได้ รูปทรงนั้นก็ขาดชีวิต ขาดเนื้อหา ไม่สามารถจะแปลหรือสื่อความหมายใดๆได้
๒. เนื้อหา (Content)
                เนื้อหา คือ องค์ประกอบหรือโครงสร้างทางนามธรรม ตรงกันข้ามกับส่วนที่เป็นรูปทรง ส่วนที่เป็นนามธรรมนี้ นอกจากเนื้อหาแล้ว ยังมี เรื่อง (Subject) และ แนวเรื่อง (Theme) รวมอยู่ด้วย ทั้งเนื้อหา เรื่องและแนวเรื่อง ต่างก็มีความเชื่อมโยงและทับซ้อนกันอยู่ เรื่องกับเนื้อหาในงานศิลปะบางประเภทแทบจะแยกจากกันไม่ได้ แต่ในงานศิลปะบางประเภทเกือบไม่เกี่ยวข้องกันเลย แนวเรื่องคือแนวทางของเรื่อง เป็นต้นทางที่จะนำไปสู่เนื้อหา ซึ่งเป็นผลขั้นสุดท้าย
                เรื่อง หมายถึง สิ่งที่ศิลปินนำมาสร้างงานศิลปะแบบรูปธรรม (Realistic) เช่น ภาพคน สัตว์ ทิวทัศน์ สิ่งของ ศาสนา สงคราม เป็นต้น แต่ศิลปะบางประเภทไม่แสดงเรื่องราว เราเรียกศิลปะประเภทนี้ว่า นอนออบเจคตีฟอาร์ต (Nonobjective Art) ส่วนใหญ่ได้แก่ ศิลปะนามธรรม (Abstract Art)
                แนวเรื่อง  เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางนามธรรมของงานศิลปะที่เน้นแนวความคิด (Concept) ความรู้สึกหรือความหมายที่ศิลปินต้องการแสดงออก เช่น ความงาม ความรัก ความศรัทธา
ความเมตตา ความโหดเหี้ยม การต่อสู้ เป็นต้น
                หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
                หลักองค์ประกอบศิลป์ ได้แก่ การนำส่วนประกอบของศิลปะมาจัดให้ประสานสัมพันธ์เป็นภาพขึ้นใหม่ เช่น หลักการจัดภาพให้เกิดคุณค่าทางความงาม ซึ่งมีหลักการดังนี้
๑.      เอกภาพ
๒.     ดุลยภาพหรือความสมดุล
๓.      จุดสนใจหรือจุดเด่น
๔.      ความกลมกลืน
๕.      ความขัดแย้ง
๖.       จังหวะ
๗.      สัดส่วน
                ๑.     เอกภาพ
เอกภาพ หมายถึง ลักษณะความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แตกแยกกระจัดกระจาย มีความประสานสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนขององค์ประกอบศิลปะ และสื่อความหมายได้รวดเร็วและชัดเจน
วิธีสร้างเอกภาพ  มีวิธีสร้างได้หลายวิธีดังนี้
๑. ความสัมพันธ์กันของภาพ ๒ มิติ คือ การนำรูปร่างมาสัมผัสกันในลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดองค์ประกอบขึ้นใหม่     
๒.   ความสัมพันธ์กันของภาพ ๓ มิติ
อาศัยหลักการเดียวกันกับงาน ๒ มิติ คือ การจัดกลุ่มของวัตถุในพื้นที่ว่างนั่นเอง

๒.ดุลยภาพหรือความสมดุล
ดุลยภาพ  หมยถึง การถ่วงดุลกัน ทั้งสองข้างเท่ากัน
โดยการนำส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ เช่น ตุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และลักษณะผิวจัดเข้าด้วยกัน

๓.จุดสนใจหรือจุดเด่น
จุดสนใจหรือจุดเด่น หมายถึง ส่วนสำคัญที่เด่นชัดที่สุดของงานศิลปะทุกประเภท จุดสนใจมีลักษณะชัดเจน สะดุดตา มีพลังดึงดูดความสนใจ

๔.ความกลมกลืน
ความกลมกลืน หมายถึง การเข้ากันได้ดีขององค์ประกอบศิลป์โดยการนำเอาเส้น รูปร่าง-รูปทรง ขนาด สัดส่วน ค่าของน้ำหนัก ลักษณะผิว จังหวะ และสี

๕.ความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่ลงรอยกัน เข้ากันไม่ได้ ไม่ประสานสัมพันธ์กันของทัศนธาตุ ทำให้ขาดความกลมกลืน

๖.จังหวะ
จังหวะ หมายถึง การจัดวาง อาจเรียกว่าการจัดบริเวณว่างก็ได้ อันได้แก่ การเว้นระยะ บนนยากาศ รูปและพื้น จังหวะของสี

๗.สัดส่วน
สัดส่วน หมายถึง ขนาดที่พอเหมาะกัน เช่น สัดส่วนของภาพ สัดส่วนของผู้หญิง ผู้ใหญ่ เด็ก สัดส่วนของเครื่องใช้ภายในบ้าน สัดส่วนของสี เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปั้นและการหล่อพระพุทธรูป

การปั้นและการหล่อพระพุทธรูป 

พระพุทธรูป พุทธศิลป์สูงค่า สัญลักษณ์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราชาวพุทธทุกคนกราบไหว้บูชา เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
เกี่ยวกับความเป็นมาของการกำเนิดพระพุทธรูปนั้นได้มีการค้นพบหลักฐานเป็นศิลปวัตถุโบราณ   ณประเทศอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจนถึงกับยกเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีพระพุทธรูปที่จะใช้เป็นที่เคารพบูชา มีเพียงปูชนียวัตถุที่สร้างไว้เพื่อสักการะแทนเช่นพระธรรมจักรและกวางหมอบเป็นต้น
ต่อมาภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วจึงได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นโดยในครั้งแรกนั้นเป็นฝีมือของช่างชาวกรีก ซึ่งเป็นชนชาติที่เข้ามายึดครองอินเดีย จากการล่าอาณานิคมของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ชาวกรีกเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างผลงานด้านปฏิมากรรมเป็นรูปเทพเจ้าต่างๆ เมื่อมาอยู่ในอินเดียเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงสร้างพระพุทธรูปที่เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ขึ้นมาเพื่อสักการะบูชา
การสร้างพระพุทธรูปมี 2 ขนาด คือ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ และพระพุทธรูปขนาดเล็ก พระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตัก 20 นิ้วขึ้นไป จัดว่าเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ โดยมากสร้างไว้เป็นพระประธานในโบสถ์หรือวิหาร แต่กว่าจะออกมาเป็นพระพุทธรูปหนึ่งองค์ให้เราบูชาต้องใช้เวลานานเป็นเดือนเป็นปี เหตุนี้เองช่างทำพระหรือที่เรียกว่าช่างหล่อจึงต้องเป็นคนที่มีใจรักในงานและมีความอดทนสูง
ด้วยความสลับซับซ้อนของขั้นตอนที่มีมากมายหลากหลายงานหล่อพระพุทธรูปจึงเป็นปฏิมากรรมที่รวมเอาช่างฝีมือในหมวดช่างสิบหมู่ไว้แทบทุกแขนง ทั้งช่างปั้น ช่างหล่อหรือช่างเททอง ช่างขัดและช่างลงรักปิดทองโดยมีลำดับการสร้างพระพุทธรูปเป็น3ขั้นตอนดังนี้
 
1.ขั้นตอนการปั้นหุ่น
ช่างปั้นโบราณจะใช้ดินเหนียวคุณภาพดีมีสีเหลืองเรียกว่า "ดินขี้งูเหลือม"นวดผสมกับทรายละเอียด โดยการเหยียบให้เข้ากัน จากนั้นจึงเริ่มปั้นส่วนต่างๆ ขึ้นมาเป็นองค์พระ ถ้าเป็นการปั้นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อาจต้องปั้นส่วนต่างๆ ของพระวรกายแยกกัน เช่น นิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาท พระกรรณ รัศมี และเม็ดพระศกแล้วจึงนำมาประกอบกันในภายหลังแล้วตกแต่งองค์พระทั้งด้านนอกและแกนในให้ได้สัดส่วนสวยงามเกลี้ยงเกลาตามศิลปะสมัยนิยม
 
เมื่อปั้นหุ่นหรือพิมพ์ได้รูปแล้วก็มาถึงขั้นตอนการเข้าขี้ผึ้งนับเป็นงานฝีมืออีกอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญอย่างมาก (ขี้ผึ้งทำมาจากรังผึ้งที่ต้มเคี่ยวจนนิ่มติดมือ แล้วนำไปผสมกับยางชันกรองด้วยผ้าขาวบางจนได้เนื้อขี้ผึ้งละเอียด) แช่พิมพ์ในน้ำสักพัก จากนั้นทาดินเหนียวบางๆ ทั้งสองด้านของพิมพ์เพื่อเคลือบให้ผิวดินและทรายเป็นเนื้อเดียวกัน กรอกขี้ผึ้งลงไปในพิมพ์ให้เต็มแล้วเทออกใส่อ่างน้ำ ในกระบวนการนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนจากขี้ผึ้งหลอมละลายมีอานุภาพทำให้มือและนิ้วแดงพองได้ ปั้นขี้ผึ้งที่เทลงอ่างเป็นแท่งกลมยัดลงพิมพ์ให้แน่นที่สุด ใช้มีดเฉือนขี้ผึ้งส่วนเกินออกแช่พิมพ์ลงในน้ำสักพักก็สามารถแกะแบบพระพิมพ์ขี้ผึ้งออกมาได้ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆจะใช้วิธีตีลายคือนำขี้ผึ้งวางบนลายพิมพ์แล้วใช้ไม้รวกบดขี้ผึ้งจนเป็นลายตัดออกมาประกอบกับองค์พระ
ก่อนนำไปหล่อต้องทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งเสียก่อน เพื่อให้เนื้อของแบบพิมพ์เรียบสนิท ที่สำคัญคือช่วยรักษาความชัดเจนของรูปร่างและลวดลายขององค์พระไว้อย่างดีด้วย (ส่วนผสมที่เรียกว่ามูลวัว คือ การนำมูลวัวสดๆ มาคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาผสมกับดินนวล) ทามูลวัวลงบนหุ่นพระขี้ผึ้งซ้ำไปซ้ำมา 3 ชั้น ตอกทอยเข้าไปในหุ่นเพื่อรับน้ำหนักให้สมดุลกัน (ทอยส่วนใหญ่มักทำด้วยเหล็ก) หุ่นที่ทามูลวัวเมื่อแห้งดีแล้วนำมาพอกด้วยดินเหนียวผสมทรายให้ทั่วอีกรอบ ก่อนนำออกผึ่งลมหรือตากแดดให้แห้งสนิท
กรรมวิธีต่อไป คือ การเข้าลวด ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญเพราะลวดที่พันรอบหุ่นคือเกราะป้องกันการแตกตัวของดินเมื่อได้รับความร้อน หุ่นพระจะเสียหายและอาจต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่หากดินแตก เมื่อผูกเหล็กเรียบร้อยแล้ว นำดินเหนียวพอกทับแม่พิมพ์อีกครั้งให้มิดลวด ขั้นตอนนี้เรียกว่า ทับปลอก จากนั้นจึงปั้นปากจอกหรือชนวนปิดบริเวณปากทางที่จะเททอง

2.ขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูป
ภาษาช่างเรียกขั้นตอนการหล่อพระพุทธรูปว่า "การเททอง" หมายถึง การสุมทองหรือหลอมโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ทองสัมฤทธิ์ ให้ละลายเป็นของเหลวแล้วเทโลหะหรือทองนั้นลงในแม่พิมพ์ การหลอมโลหะนับเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาและความอดทนโดยเฉพาะทองแดงต้องใช้เวลาหลอมละลายไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง การหล่อพระนิยมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงเผาหุ่นและใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหลอมโลหะก่อนเททองต้องทำการสุมไฟหุ่นให้ร้อนจัดเพื่อสำรอกขี้ผึ้งที่ปั้นเป็นหุ่นอยู่ภายในหลอมละลายไหลออกมาจากแม่พิมพ์ทางช่องชนวนจนหมดและเผาแม่พิมพ์ต่อไปจนสุกพร้อมที่จะเททองหล่อพระได้
 
การหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ต้องทำนั่งร้านสำหรับเททองพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่หรือมีความสูงมากๆ จะใช้วิธีหล่อเป็นสองท่อนแล้วนำมาประกบกัน เมื่อเผาแม่พิมพ์ได้ที่ขณะเดียวกับทองที่หลอมในเบ้าละลายดีแล้ว ก็เตรียมยกเบ้าทองไปเทลงในแม่พิมพ์ได้เลย การเททองต้องเทติดต่อกันมิฉะนั้นจะไม่ต่อเป็นเนื้อเดียว
ภายหลังการเททองเสร็จแล้วต้องปล่อยให้ทองในแม่พิมพ์เย็นตัวจึงจะจัดการทุบแม่พิมพ์ดินออกได้ รื้อแก้ลวดที่รัดแม่พิมพ์ออกให้หมด ถอนหรือตัดทอยออกแล้วใช้ตะไบหยาบขัดให้ทั่วทุกมุม พระพุทธรูปสำเร็จก็จะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด



3.ขั้นตอนการขัดแต่งพระพุทธรูป
พระพุทธรูปเมื่อทุบแม่พิมพ์ออกแล้วผิวพื้นขององค์พระจะไม่เรียบ มีคราบเผาไหม้ปรากฏอยู่โดยทั่ว ดังนั้น เมื่อทำการหล่อแล้วจึงต้องมีการขัดแต่งผิวให้มันเงา ขั้นตอนการขัดมันในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องขัดกดจี้กับองค์พระจนผิวเรียบเกลี้ยง จากนั้นเปลี่ยนผ้าขัดเงาให้เป็นผ้าที่มีความนิ่มปุยขัดต่อโดยใช้ยาขัดเงาสีแดงเป็นตัวเพิ่มความแวววาว จากนั้นจึงลงรักปิดทองด้วยการนำองค์พระล้างน้ำให้สะอาดก่อนลงรัก ใช้น้ำรักผสมสมุกบดให้เข้ากันจนข้นแข็งไม่ติดมือ นำน้ำรักมาเกลี่ยให้ทั่วองค์พระปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วัน
เมื่อรักแห้งสนิทขัดอีกครั้งด้วยกระดาษทรายลบสันคมและรอยคลื่นออกให้เกลี้ยงเกลา ล้างน้ำให้สะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อองค์พระแห้งแล้วใช้แปรงจุ่มลงทาให้ทั่ว ผึ่งลมรอจนแห้งแล้วใช้น้ำรักทาทับอีกครั้ง คลุมองค์พระด้วยผ้าชุบน้ำทิ้งไว้ประมาณ 10 ชั่วโมง แล้วเปิดออกดู เมื่อน้ำรักไม่ติดมือก็ถือว่าใช้ได้ ปิดทองแล้วเกลี่ยให้ทั่วตลอดองค์ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็มาถึงพิธีการเบิกพระเนตร สำหรับตาดำนิยมใช้นิลดำทำเป็นรูปทรงไข่ ตาขาวใช้เปลือกหอยมุกไฟ ปอกเปลือกนอกออก แต่งด้วยตะไบแล้วนำไปติดโดยใช้น้ำรักผสมสมุก (ใบตองแห้งเผาแล้วนำมาร่อนจนละเอียด) ตาหนึ่งข้างจะติดที่หัวตา 1 อัน และหางตาอีก 1 อัน ขณะใส่ตานิลต้องท่องคาถาคำว่า "ทิพจักขุ จักขุ ปะถัง อาคุจฉาติ" เป็นอันเสร็จพิธีการปั้นและหล่อพระพุทธรูป

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติวัดนันตาราม




ประวัติความเป็นมาวัดนันตาราม

วัดนันตาราม ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ ไม่ปรากฎว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่องโพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยามเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ
   สร้างวิหารไม้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง ได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน พ่อเฒ่านันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชสวไทยใหญ่ผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้บริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ เสนาสนะและเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังใหม่แทนวิหารที่มุงหญ้าคา โดยว่าจ้างชาวไทยใหญ่มาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้) เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิศดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง ๖๘ ต้นลงรักปิดทอง ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาทเศษ
   อัญเชิญพระประธาน  พระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า) พ่อเฒ่านันตาได้ว่าจ้างและ ไหว้วานชาวบ้านประมาณ ๘๐ คน อัญเชิญมาจาก วัดจองเหม่ถ่า ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่เดิมที่อำเภอปง (ปัจจุบันเป็นสถานีอนามัยบ้านดอนแก้ว ตำบลออย อำเภอปง)เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้น ลงลักปิดทอง ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่ สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา ๙ ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์
   การจัดงานฉลองวัดครั้งแรก
 การปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างวัดจองคาครั้งใหญ่ใช้เวลาร่วม ๑๐ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๗ พ่อเฒ่า นันตา (อู๋) ได้เป็นประธานจัดงานฉลองครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๗ ๑๕ วัน ๑๕ คืน นอกจากการทำบุญ และจัดมหรสพสมโภชแล้ว ยังมีการตั้งโรงทาน แจกจ่ายวัตถุทานแก่ยาจกวณิพกและคนยากจนทั่วไปจำนวนมากอีกด้วย นับเป็นมหากุศลที่ ยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของวัดจองคำ
ได้ชื่อ “ วัดนันตาราม”
   พ่อเฒ่านันตา (อู๋) ต้นตระกูล วงศ์อนันต์ คหบดีที่มีจิตใจศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งใจปฏิบัติตาม พระธรรมคำสอนมิได้ขาด มีความเพียรในการรักษาอุโบสถศีล นอนวัดตลอดฤดูพรรษา ทั้งยังเสียสละบริจาคทรัพย์ เป็นเจ้า ศรัทธาในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และสร้างวิหารถวายเป็น สมบัติในพุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่ และประชาชนทั่วไปเป็น พ่อจองตะก่านันตา (คำว่า พ่อจอง หมายถึง ผู้สร้างวัด / ตะก่า หมายถึง ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลและนอนวัดตลอดพรรษา)
เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ของพ่อเฒ่านันตา (อู๋) จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดจองคา เป็น วัดนันตาราม เป็นเกียรติแด่ท่าน และตระกูล “วงศ์อนันต์”
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ
๑ . วิหารไม้ รูปทรงแบบไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๘
๒. พระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย ไม้แกะสลักศิลปไทยใหญ่ อัญเชิญมาประดิษฐาน พ.ศ. ๒๔๗๖
๓. เจดีย์แบบไทยใหญ่ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงแปดเหลี่ยม สูง ๙ ศอก สร้าง พ.ศ. ๒๕00
๔. พระอุโบสถ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๕
๕. พระพุทธรูปเกสรดอกไม้ สร้างจากไม้หอมนานาชนิดในเมืองต่องกี ประเทศพม่า นำมาตากแห้งและบดให้ละเอียด ผสมกับยางรัก เถ้าฟางเผ่าคลุกกับดินจอมปลวกหรืออิฐปูนปั้นเป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทอง พ่อเฒ่าผก่า หัวอ่อนแม่เฒ่าป้องสุมาลย์เจริญ สร้างถวาย
๖. พระเจ้าแสนแซ่ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง /๙ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว แม่เฒ่าบัว ได้บูชามาจากพ่อเฒ่าส่างติ (พี่ชาย) ในราคา ๑ ชั่ง (๘๐ บาท) นำมาถวายวัด (ปลัดอำเภอท่านหนึ่งว่าจ้างเกวียนชาวบ้านในราคา ๗๕ สตางค์ บรรทุกมาจาก บ้านถ้ำ ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ นำมาตั้งไว้ใต้ถุนเรือนพ่อเฒ่าส่างติ) กรมศิลปากร ได้จดทะเบียนรับรองเป็นวัตถุโบราณไว้แล้ว
๗. พระพุทธรูปหินขาว (หยกขาว) ศิลปแบบพม่า หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๘ นิ้ว แม่คำหล้า วาระกุล สร้างถวาย


วัดนันตาราม ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ ไม่ปรากฎว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่องโพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๓ ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยามเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ
   สร้างวิหารไม้ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แม่นางจ๋ามเฮิง ได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๑ งาน ๗๒ ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน พ่อเฒ่านันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชสวไทยใหญ่ผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้บริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ เสนาสนะและเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังใหม่แทนวิหารที่มุงหญ้าคา โดยว่าจ้างชาวไทยใหญ่มาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้) เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิศดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง ๖๘ ต้นลงรักปิดทอง ค่าก่อสร้าง ประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาทเศษ
   อัญเชิญพระประธาน  พระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า) พ่อเฒ่านันตาได้ว่าจ้างและ ไหว้วานชาวบ้านประมาณ ๘๐ คน อัญเชิญมาจาก วัดจองเหม่ถ่า ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่เดิมที่อำเภอปง (ปัจจุบันเป็นสถานีอนามัยบ้านดอนแก้ว ตำบลออย อำเภอปง)เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้น ลงลักปิดทอง ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่ สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๑ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา ๙ ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์
   การจัดงานฉลองวัดครั้งแรก
 การปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างวัดจองคาครั้งใหญ่ใช้เวลาร่วม ๑๐ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๗๗ พ่อเฒ่า นันตา (อู๋) ได้เป็นประธานจัดงานฉลองครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๕ มีนาคม ๒๔๗๗ ๑๕ วัน ๑๕ คืน นอกจากการทำบุญ และจัดมหรสพสมโภชแล้ว ยังมีการตั้งโรงทาน แจกจ่ายวัตถุทานแก่ยาจกวณิพกและคนยากจนทั่วไปจำนวนมากอีกด้วย นับเป็นมหากุศลที่ ยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของวัดจองคำ
ได้ชื่อ “ วัดนันตาราม”
   พ่อเฒ่านันตา (อู๋) ต้นตระกูล วงศ์อนันต์ คหบดีที่มีจิตใจศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งใจปฏิบัติตาม พระธรรมคำสอนมิได้ขาด มีความเพียรในการรักษาอุโบสถศีล นอนวัดตลอดฤดูพรรษา ทั้งยังเสียสละบริจาคทรัพย์ เป็นเจ้า ศรัทธาในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และสร้างวิหารถวายเป็น สมบัติในพุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่ และประชาชนทั่วไปเป็น พ่อจองตะก่านันตา (คำว่า พ่อจอง หมายถึง ผู้สร้างวัด / ตะก่า หมายถึง ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลและนอนวัดตลอดพรรษา)
เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ของพ่อเฒ่านันตา (อู๋) จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดจองคา เป็น วัดนันตาราม เป็นเกียรติแด่ท่าน และตระกูล “วงศ์อนันต์”
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ
๑ . วิหารไม้ รูปทรงแบบไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๘
๒. พระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย ไม้แกะสลักศิลปไทยใหญ่ อัญเชิญมาประดิษฐาน พ.ศ. ๒๔๗๖
๓. เจดีย์แบบไทยใหญ่ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงแปดเหลี่ยม สูง ๙ ศอก สร้าง พ.ศ. ๒๕00
๔. พระอุโบสถ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๕
๕. พระพุทธรูปเกสรดอกไม้ สร้างจากไม้หอมนานาชนิดในเมืองต่องกี ประเทศพม่า นำมาตากแห้งและบดให้ละเอียด ผสมกับยางรัก เถ้าฟางเผ่าคลุกกับดินจอมปลวกหรืออิฐปูนปั้นเป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทอง พ่อเฒ่าผก่า หัวอ่อนแม่เฒ่าป้องสุมาลย์เจริญ สร้างถวาย
๖. พระเจ้าแสนแซ่ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง /๙ นิ้ว สูง ๒๔ นิ้ว แม่เฒ่าบัว ได้บูชามาจากพ่อเฒ่าส่างติ (พี่ชาย) ในราคา ๑ ชั่ง (๘๐ บาท) นำมาถวายวัด (ปลัดอำเภอท่านหนึ่งว่าจ้างเกวียนชาวบ้านในราคา ๗๕ สตางค์ บรรทุกมาจาก บ้านถ้ำ ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ นำมาตั้งไว้ใต้ถุนเรือนพ่อเฒ่าส่างติ) กรมศิลปากร ได้จดทะเบียนรับรองเป็นวัตถุโบราณไว้แล้ว
๗. พระพุทธรูปหินขาว (หยกขาว) ศิลปแบบพม่า หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๘ นิ้ว แม่คำหล้า วาระกุล สร้างถวาย